สเปคมือถือดูยังไง? [Samsung /iphone/ Huawei / Vivo / ฯลฯ]

ในสมัยที่สมาร์ทโฟน แทบจะเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ในร่างกาย ไม่มีก็ได้ แต่เหมือนอะไรขาดหายไป จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า โทรศัพท์สมาร์ทโฟน จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากกว่าการโทรออกรับสายเฉกเช่นในอดีต เพราะโทรศัพท์ยุคนี้ ใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เช็คข่าวสาร (ทั้งข่าวจริง ข่าวลือ อันนี้ก็สุดแท้แต่) หนักๆเลยคือใช้พรีเซนต์งาน ใช้แทนบัตรเครดิต ซื้อขายสินค้าออนไลน์และอีกสารพัดพอจะนึกได้…

ถ้ามือถือที่ท่านใช้ ซื้อมาตั้งกะปี 2007 แบบในภาพแล้วล่ะก็ ควรเปลี่ยนได้แล้วนะครับ 55+

ดังนั้นการจะซื้อสมาร์ทโฟนซักเครื่อง นอกจากประโยชน์ต่างๆที่เราอยากจะใช้งานแล้ว การดูสเปคมือถือให้เป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด บางทีของแพงก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เสมอไป แอดมินมี “วิธีดูสเปคมือถือ” ฉบับเข้าใจง่ายๆมาให้อ่านกัน

จุดแรกที่เราจะมาพิจารณากัน เพราะนี่คือโคตรของโคตรพื้นฐานที่สำคัญในวงการโทรศัพท์มือถือ นั่นก็คือ “ระบบปฏิบัติการณ์” ที่ในตลาดตอนนี้มีด้วยกัน 4 ระบบหลักๆ ได้แก่

ระบบปฏิบัติการณ์เฉพาะ ของบ.แอปเปิล (หรือในชื่อเดิม “บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์”) ที่มีระบบความปลอดภัยจากแอพขยะ และเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน รวมไปถึงความเสถียรที่มีมากขึ้นตามเวอร์ชั่น โดยปัจจุบัน สูงสุดอยู่ที่ iOS 10 ที่เพิ่งปล่อยในวันที่13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และมีเสียงตอบรับที่ดีมากในแง่ของซอฟท์แวร์

ระบบปฏิบัติการณ์จากทาง Google ที่มีพื้นฐานอยู่บนระบบลินุกซ์ ที่ค่อนข้างจะอิสระกับเหล่านักพัฒนา และผู้ใช้งาน เพราะรองรับแอพลิเคชั่นที่หลากหลายในสโตร์ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเจอกับไวรัส และ แอพแปลกๆ เพราะมักจะมาพร้อมกับโฆษณาแฝง คำชวนเชื่อแปลกๆ ดังนั้นผู้ใช้จำเป้นต้องระวังตัว หรือไม่ควรโหลดอะไรซี้ซั้วเพื่อเรียกแอพขยะเหล่านี้มาในตัวเครื่อง (ซึ่งเหมือนทาง iOS จะไม่ค่อยเจอปัญหาในจุดนี้เพราะทุกอย่างทำผ่านสโตร์ของแอปเปิ้ลหมด)

โดยแต่ละรุ่นจะมีชื่อเฉพาะเรียงตามลำดับตัวอักษรและจะใช้ชื่อจากขนมหวาน โดยในปัจจุบัน จะอยู่ที่เวอร์ชั่น 7.1 “Nougat” (นูกัต = ตังเมฝรั่ง)

ระบบปฎิบัติการณ์โลกลืม โดยสองตัวนี้จะไม่ค่อยมีบทบาทในตลาดปัจจุบันเท่าไหร่นัก เนื่องจากแอพพลิเคชั่นต่างๆยังไม่สเถียร เมื่อนำมาใช้กับสองระบบดังกล่าว อีกทั้งทีมพัฒนาเกือบทั้งหมด เทกำลังไปทำแอพลง iOS / Android มากกว่า

แฟบเล็ท (Phablet) -โทรศัพท์ ที่มีหน้าจอ ขนาดความกว้าง 5.0 – 7.0นิ้ว นับจากมุมแทยง ที่เรียกว่าแฟบเล็ท ก็เพราะมีส่วนผสมกึ่งกลางระหว่างแทปเลท และสมาร์ทโฟนนั่นเอง

นอกจากไซส์ทางกายภาพแล้ว เรายังต้องดู “ไซส์ดิจิตอล” หรือเอาง่ายๆเลยก็คือ “ความคมชัดของหน้าจอ” ยิ่งตัวเลขเยอะ ยิ่งคมชัด แน่นอนว่าราคาก็ยิ่งแพง

เทคโนโลยีความคมชัดของจอ นอกจากไซส์แล้ว ยังมีเรื่องของการแสดงผล การให้สีสันต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ โดยปัจจุบัน มี 3 เทคโนโลยีที่ใช้งานกันอยู่ได้แก่

LCD TFT -เป้นจอที่พบได้ในโทรศัพท์มือถือรุ่นล่างๆในปัจจุบัน หรือเครื่องเล่นเกมพกพายุคปี 2000 ที่เป็นเหมือนเทคโนโลยีแรกๆที่มาเล่นกับพวกอุปกรณ์แสดงผล โดยจะมีข้อจำกัดเรื่องของสีสัน และความคมชัด รวมไปถึงมุมมองของหน้าจอที่จะแสดงผลเพี้ยน เมื่อไม่ได้จ้องจอตรงๆ ข้อดีคือประหยัดแบตเตอร์รี่

IPS - เป็นหน้าจอที่แสดงสีสันสดใส ด้วยองศาในการมองที่กว้างมากกว่า LCD TFT (แต่ต้นทุนก็แพงกว่าเล็กน้อย) จึงทำให้กลบข้อเสียของ LCD TFT หมดสิ้น แต่มีข้อเสียอยู่ที่ความสว่าง อาจส่งผลเสียต่อสายตาได้ แต่IPS รุ่นหลังๆ ได้รับการปรับปรุงการแสดงผล และมีลูกเล่นเรื่องสีสันต่างๆมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

Amolet- เป็นประเภทจอที่ให้สีสันคมชัดจัดจ้านที่สุด มีการตอบสนองที่ฉับไว บวกองศาการมองที่กว้าง แถมประหยัดพลังงานกว่าสองแบบแรก ข้อเสียหลักๆเลยคือ สีมีความจัดจ้านคมชัดจน “เพี้ยน” จึงไม่เหมาะกับการถ่ายรูปที่เน้นจุดเด่นเรื่องของสีสันเป็นอย่างมาก เพราะภาพที่แสดงผลบนจอชนิดนี้ จะต่างจากไฟล์ภาพจริงๆ สังเกตุได้เมื่อนำภาพไปเปิดในอุปกรณ์อื่นๆอย่าง Mac หรือ PC

ครับ คุณอ่านไม่ผิด การซื้อมือถือเดี๋ยวนี้ ก็ต้องดู “การ์ดจอ” เหมือนกับ PC ในบ้าน เพียงแต่อาจจะยังไม่เน้นหนักมากนัก ถ้าไม่ได้เอามาเล่นเกมแบบฮาร์ดคอร์จริงจัง เพราะการแสดงผลกราฟฟิกด้าน 3 มิติ นั้นจะมีความสวยงามมากน้อย ก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้ GPU ยิ่ง GPU คุณภาพดี มีความแรงสูง การประมวลผลด้านงานภาพ ก็จะยิ่งดี ไหลลื่นกว่า และยิ่งปัจจุบันที่มีเทคโนโลยี VR เข้ามาเกี่ยวข้อง การที่มือถือมี GPU ที่ดี ก้จะเพิ่มความสามารถด้าน VR ได้เด่นชัดขึ้น โดยหลักๆจะมี 3 ยี่ห้อก็คือ Qualcomm Adreno / NVIDIA GeForce Tegra และ PowerVR

อันนี้ก็จัดว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ความแรงของเครื่อง มันวัดกันตรงนี้เลย เหมือนกับคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะการะมวลผล การเปิดแอพ การเล่นเกมก็จะมีเจ้าCPU เป็นตัวชี้วัดเช่นกัน ยิ่งมี หน่วยประมวลผล (Core) และ สัญญาณนาฬิกา (GHz – กิ๊กกะเฮิร์ซ) เป็นตัวชี้วัดรองลงมา

ซึ่งในตลาดเองก็มี CPU หลายเจ้าที่พยายามจะแข่งขันกันในด้านประสิทธิภาพ และสัญญาณนาฬิกาว่าใครเร็ว แรงกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็น NVIDIA / Mediatek / Qualcomm / Intel และ ซัมซุง Exynos

Rom - พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage)ไฟล์ต่างๆ รวมไปถึงระบบปฏิบัติการณ์ ที่ติดตั้งภายในตัวเครื่อง ยิ่งเยอะ ยิ่งจัดเก็บได้มาก (แต่ถ้าอยากได้เพิ่ม ก็ต้องหา SD Card ความจุเยอะๆมาใส่เอาเอง)

Ram - พูดให้เข้าใจแบบชาวบ้านเลย ก็คือ มันมีหน้าที่เป็น “ที่พักข้อมูลในการคำนวณของเครื่องและแอพที่รันในขณะนั้น” (Used Memory) ยิ่ง RAM เยอะ เครื่องก็จะทำงานได้รวดเร็วขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน สูงสุดที่แรม 8 Gb

กล้องถ่ายรูปในมือถือปัจจุบัน ก้าวหน้าไปมาก เดี๋ยวนี้ใครๆก็เป็นช่างภาพสมัครเล่นได้ ด้วยแอพที่ช่วยทำให้ถ่ายรูปสวย ดูสนุก และไปได้ทุกที่นั่นเอง ดังนั้นถ้าใครชอบถ่ายรูป หรือ ต้องการถ่ายรูปรีวิวสินค้าออนไลน์ การที่กล้องมีค่า Pixel เยอะๆ ก็ย่อมดี

แต่ทีนี้มันมีว่า ค่าพิกเซลที่ได้ “มันเกิดจากเลนส์กล้องจริงๆ” หรือ “ซอฟท์แวร์ขยายส่วน” กันแน่? ซึ่งอย่างหลังจัดว่าห่วยเลยครับ ภาพแตกแน่นอน ตรงนี้แนะนำว่าให้ลองหารีวิวแต่ละเครื่องดูนะครับ เพราะแต่ละเครื่องเองก็จะมีลูกเล่น การใช้งานในส่วนของกล้องที่ต่างกันอย่างชัดเจน แต่ในเบื้องต้นก็ดูที่ค่าพิกเซลเยอะๆไว้ก่อนนั่นละครับ

ความจุของแบตก็เป็นส่วนสำคัญ ยิ่งเครื่องแรง ยิ่งกินแบตเยอะ ดังนั้น ควรจะดูที่ความจุของแบตเครื่องนั้นว่ามีเท่าไหร่ ยิ่งเยอะยิ่งดี ปัจจุบันมีถึง 5000 mAh แล้ว

แต่นอกจากการดูความจุแลบ้ว ยังต้องดูในส่วนของมาตรฐานความปลอดภัย หรือลองดูที่หลังเคครื่องก่อนซื้อออกจากร้าน ว่าหลังโก่ง นูนขั้นมา หรือ มีความร้อนที่สูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติ ส่งเคลมทันที และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้งาน Power Bank ไปพร้อมๆกับการใช้งานโทรศัพท์ เพราะจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบตมือถือเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นครับ

ดูที่ “การรับ 4G / 3G” และ “คลื่นความถี่ที่รองรับ”

ในปัจจุบัน ความเร็วอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นถือว่าเร็ว แรง และค่อนข้างครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว การใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่มือถือในทุกวันนี้ก็ยังมี “การแบ่งคลื่นความถี่” โดยคลื่นความถี่ที่รองรับก้จะมีผู้ให้บริการแตกต่างกันไป

ซื้อมาแพง แต่ใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์ ก็น่าเสียดาย….

หวังว่าในบทความชิ้นนี้น่าจะเป็นตัวช่วยในการซื้อโทรศัพท์มือถือไม่มากก็น้อยนะครับ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ “ต้องถามตัวเองว่า จะซื้อมาทำอะไร?” บางคนเอามาเล่นเกม บางคนเอามาดูหนัง เล่นเวปโซเชี่ยล บางคนพกแทนกล้องถ่ายภาพ อันนี้ก็สุดแท้แต่นะครับ

Write a Comment