มือถือหายหรือโดนขโมย ล้างข้อมูลในเครื่องยังไงดี

มือถือในยุคนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถนำมาเพิ่มความสะดวกได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อใช้เทคโนโลยีย่อมเกิดข้อมูลขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในมือถือก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลที่อยู่ในมือถือเป็นข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของผู้ใช้สูงมาก เช่น ภาพถ่าย ข้อมูลบัญชีอีเมล บัญชีธนาคาร หรือแม้กระทั่งข้อมูลการโทรเข้าโทรออก ถ้ามือถือหายหรือโดน ขโมยข้อมูลเหล่านั้นก็อาจจะถูกนำไปใช้งานได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องรีบทำหลังจากมือถือหายหรือถูกขโมย คือ การสั่งลบข้อมูลบนเครื่อง (Android และ iOS) เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเข้าถึงข้อมูลเราได้

บทความนี้ แนะนำวิธีการตั้งค่าใช้งานสำหรับตั้งแต่ Android เวอร์ชัน 8 จนถึงเวอร์ชันปัจจุบัน และ iOS เวอร์ชัน 13 โดยเรียบเรียงสถานการณ์ก่อนและหลังมือถือหาย ดังนี้

ก่อนมือถือหาย

ก่อนอื่นขอให้คิดว่า มือถือหายได้เสมอ ไม่ว่าจะจากการที่เราลืมเอง หรือ โดนขโมย ดังนั้นผู้ใช้ควรตั้งค่าสำคัญ เอาไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถสั่งล้างข้อมูลบนเครื่องได้ในกรณีที่มีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น

สำหรับ Android

ผูกบัญชี Google เข้ากับอุปกรณ์มือถือ หลังจากนั้น Find My Device จะถูกเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ สามารถค้นหามือถือที่หายจากหน้าเว็บไซต์ของ Google หากมีอุปกรณ์เครื่องที่สอง เช่น มือถือหรือ Tablet สามารถเลือกลงแอป Find My Device จาก Google Play Store ได้ กรณีเครื่องใดเครื่องหนึ่งหาย สามารถใช้เครื่องที่เหลืออยู่สั่งการต่าง ๆ ได้ และสามารถทำผ่าน Browser บนเครื่อง PC ได้เช่นเดียวกัน

สำหรับ iOS

คลิกที่ไอคอน Find My App (เป็นแอปที่มาพร้อม iOS13) เลือก Settings > เลือกชื่อผู้ใช้ เปิดใช้งาน Find My iPhone เปิดใช้งาน Enable Offline Finding เพื่อค้นหาเครื่องถึงแม้จะไม่ได้เชื่อมต่ออิเทอร์เน็ต โดยอาศัยการส่งสัญญาณ Bluetooth จากเครื่องที่ถูกขโมยไปยัง อุปกรณ์ตระกูล Apple ของคนอื่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เพื่อส่ง Location ไปยัง Apple ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีสุดล้ำทีเดียว เปิดใช้งาน Send Last Location เพื่อให้ Apple บันทึกตำแหน่งสุดท้ายของมือถือก่อนเครื่องถูกปิดหรือแบตหมด

(ภาพจาก : –

เมื่อตั้งค่าดังกล่าวแล้วอุปกรณ์ในตระกูล Apple เช่น Apple Watch หรือ AirPods ของเราที่ Pair เอาไว้จะถูกตั้งค่าโดยอัตโนมัติเช่นกัน

หลังมือถือหาย

สำหรับ Android

ไปที่ และลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google

– เลือกมือถือที่หายไปที่ด้านบนของหน้าจอ

– หากมือถือนั้นมีโปรไฟล์ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งโปรไฟล์ให้ลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี Google ที่อยู่ในโปรไฟล์หลัก ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังมือถือเครื่องนั้น ตำแหน่งมือถือจะถูกแสดงบนสถานที่ตั้งบนแผนที่อย่างคร่าว ๆ ถ้ามือถือไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะแสดงตำแหน่งสุดท้ายก่อนยุติการเชื่อมต่อ ฯ คลิกเปิดใช้งาน ล็อกและล้างเครื่อง

– เปิดเสียงเตือนไปยังมือถือนั้น ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 นาที (ถึงแม้ตั้งไว้ที่โหมดเงียบหรือระบบสั่น)

– ล็อกเครื่อง และสามารถส่งข้อความหรือหมายเลขโทรศัพท์ในหน้าจอล็อคเพื่อให้ผู้ที่พบเครื่องติดต่อกลับได้

– ล้างข้อมูลทั้งหมดบนเครื่อง (ในหน่วยความจำเสริมเช่น Mini SD Card อาจไม่สามารถลบข้อมูลได้) หลังจากที่เครื่องถูกล้างข้อมูล Find My Device จะไม่สามารถใช้งานได้อีก ติดต่อเครือข่ายผู้ให้บริการมือถือเพื่อยกเลิก SIM Card

สำหรับ iOS

กรณีเปิดใช้งานแอป Find My ไว้แล้ว

ลงชื่อเข้าใช้งาน หรือเข้าใช้งานแอป Find My บนอุปกรณ์ตระกูล Apple เครื่องที่สอง เช่น iPad ค้นหามือถือโดยคลิก Find iPhone จะพบตำแหน่งของอุปกรณ์บนแผนที่ หากอุปกรณ์อยู่ใกล้ตัว สามารถสั่งให้ส่งเสียงเพื่อหาเจอง่ายขึ้น กรณีที่แน่ใจหายหรือถูกขโมย เลือกไปที่ Mark As Lost เพื่อล็อคมือถือไว้ก่อน สามารถส่งข้อความพร้อมหมายเลขโทรศัพท์บนหน้าจอของมือถือนั้นเพื่อแจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่าจะติดต่อเราได้อย่างไร ในโหมดนี้ การชำระเงินต่าง ๆ ใน Apple Pay จะถูกระงับไว้ทันที (ภาพจาก : – ล้างข้อมูลบนมือถือ โดยข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลบัตร ฯ บน Apple Pay จะถูกลบทิ้ง หลังจากนั้น จะไม่สามารถติดตามมือถือนั้นได้อีก หลังจากล้างข้อมูลแล้ว อย่าสั่ง Remove เครื่องออกจากบัญชีของเรา มิฉนั้น ระบบ Activation Lock จะถูกยกเลิก เนื่องจาก SIM Card ยังอยู่ในเครื่องจึงทำให้ผู้อื่นสามารถนำมือถือนั้นไปใช้งานโทรศัพท์ต่อได้อีก ซึ่งควรรีบติดต่อเครือข่ายผู้ให้บริการมือถือเพื่อทำการ ยกเลิก SIM Card นั้นเสีย

กรณีไม่ได้เปิดใช้งานแอป Find My เอาไว้ก่อน

เปลี่ยนรหัสผ่าน Apple ID เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูล iCloud หรือใช้บริการอื่น ๆ (เช่น iMessage หรือ iTunes) เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับบัญชีอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ ในอุปกรณ์ ซึ่งอาจรวมถึงบัญชีอีเมล และโซเชียลต่าง ๆ แจ้งเครือข่ายผู้ให้บริการมือถือ เพื่อยกเลิก SIM Card

นอกจากการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ควรทำสิ่งเหล่านี้ด้วยเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายากเพื่อชะลอการเข้าถึงระบบจากผู้อื่น

หลังจากมือถือหาย หัวขโมยอาจพยายามคาดเดารหัสผ่านเพื่อเข้าระบบอย่างไม่รอช้า การตั้งรหัสผ่านที่มีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ตัวเลขและสัญลักษณ์ คละกันในชุดให้ซับซ้อนเพื่อการคาดเดาจากผู้อื่นได้ยากย่อมช่วยชะลอการเข้าถึงระบบได้ นอกจากนั้น การเปิดใช้งานสแกนลายนิ้วมือ ใบหน้า (Face ID) หรือม่านตา (Iris) แทนการกดรหัสผ่านเป็นตัวเลือกที่สะดวกเช่นกัน ยกเลิกการแจ้งเตือนบนหน้า Screen Lock เพื่อป้องกันการโดนอ่านข้อความ

พึงระวังเสมอว่าอาจมีคนอื่นสามารถอ่านข้อความและการแจ้งเตือนบนหน้า Screen Lock เมื่อเราวางมือถือโดยหงายหน้าจอขึ้นมา โดยเฉพาะกรณีที่ให้ระบบส่งรหัสยืนยันตนแบบสองปัจจัย (2FA) ทางที่ดีควรสั่งยกเลิกการแจ้งเตือนแบบแสดงข้อความบนหน้า Screen Lockสำหรับ Android

ไปที่ “Settings” เปิด “Sound and Notifications” ค้นหาตัวเลือก “When Device Is Locked” จากนั้นตั้งค่าเป็น “Hide Sensitive Notification Content.” ระวังอย่าเผลอกด “Don’t Show Notifications At All” เดี๋ยวจะกลายเป็นไม่เห็นการแจ้งเตือนใด ๆ แม้มือถือถูกปลดล็อค

สำหรับ iOS

ไปที่ “Settings” เปิดเมนู “Notifications” และแตะตัวเลือก “Show Previews” เราสามารถสั่งไม่ให้มีการแจ้งเตือนบนหน้า Screen Lock ได้ ในกรณีที่มีการเข้าระบบด้วยใบหน้า (Face ID) iOS จะซ่อนการแจ้งเตือนจากหน้า Screen Lock จนกว่าเราจะปลดล็อคมือถือ วิธีนี้ช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่นเห็นการแจ้งเตือนเหมือนการเข้าระบบด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น พิมพ์รหัสผ่าน อย่าบันทึกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านบนเว็บเบราเซอร์

เลือกวิธีกรอกรหัสผ่านเองทุกครั้งเมื่อใช้งานเข้าสู่การบริการออนไลน์ต่าง ๆ ดีกว่าการบันทึกรหัสผ่านไว้กับเบราเซอร์เพียงหวังแค่ความสะดวกสบาย หากเครื่องโดนขโมย นอกจากจะเข้าใช้งานมือถือเราได้แล้ว ยังเข้าสู่ระบบของบริการออนไลน์ต่าง ๆ ที่เราสมัครเอาไว้ได้อีกด้วย สำรองข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Syncing) เพื่อเตรียม Restore ข้อมูลเข้าสู่มือถือใหม่

การสำรองข้อมูลในมือถือไว้บนคลาวด์เป็นทางเลือกที่สะดวกสบาย ทำให้มีหลักประกันว่าข้อมูลสำคัญ ทั้งรูปภาพและรายชื่อผู้ติดต่อทั้งหมดถูกเก็บไว้บนคลาวด์เป็นระยะ ๆ เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในกรณีที่สั่งล้างข้อมูลบนมือถือเก่าที่หายไป เราสามารถสั่ง Restore เพื่อนำข้อมูลที่สำรองไว้มาลงในมือถือใหม่ได้ทันที

สำหรับ Android

ไปที่ “Settings” “Account And Backup” และเปิดใช้งาน “Back Up My Data” เพื่อสำรองข้อมูลสำคัญ เช่น รายชื่อผู้ติดต่อและการตั้งค่าต่าง ๆ ในเครื่อง จากนั้นดาวน์โหลดแอป เช่น Dropbox, Google Drive, Google Photos หรือ Amazon Photos เพื่อสำรองข้อมูล

สำหรับ iOS

ไปที่“ Settings” แตะที่ Apple ID เพื่อเปิด “iCloud Settings” เลือก “ iCloud Backup” และเปิดใช้งาน“ iCloud Backup”

อ้างอิงที่มา :

Write a Comment