คู่มือเลือกซื้อมือถือ อ่านสเปค การเลือกสเปคในปี 2020
ในการเลือกซื้อมือถือนั้น นอกจากเรื่องของรูปร่างหน้าตาแล้ว การพิจารณาสเปคเครื่องก็เป็นอีกจุดที่ควรให้ความสนใจด้วยเช่นกัน เพราะสเปค ความแรง คุณสมบัติ และประสิทธิภาพของตัวเครื่องถือเป็นจุดที่จะบ่งชี้เลยว่ามือถือแต่ละเครื่องจะรองรับการใช้งานได้ครอบคลุมขนาดไหน รวมถึงยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาด้วย ดังนั้นการพิจารณาสเปคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเลือกมือถือมาตลอด โดยเฉพาะในยุคของสมาร์ตโฟนนับตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเลือกซื้อมือถือในปี 2020 กับประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
• แนวทางของสเปคมือถือที่ควรเลือก ตามลักษณะการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ
ปกติแล้ว ข้อความที่ผู้ขายมักใช้ในการโฆษณาสเปคมือถือมักจะใช้ข้อความสั้น ๆ อาจจะเนื่องจากพื้นที่เขียนมีน้อย หรือต้องการใส่ข้อมูลเข้าไปให้ได้มากที่สุด จึงทำให้เราได้เห็นการย่อสเปคให้สั้นลง ซึ่งถ้าใครที่เป็นมือใหม่ หรือไม่ได้เชี่ยวชาญก็อาจจะงงได้ว่าที่คนขายเขียนนั้นหมายถึงอะไร ตัวอย่างก็เช่น
ที่หัวข้อจากในภาพข้างบนจะมีการใส่สเปคแบบคร่าว ๆ เอาไว้ ซึ่งจุดที่น่าสนใจก็ได้แก่
ตรงนี้เป็นจุดที่บอกปริมาณหน่วยความจำและพื้นที่เก็บข้อมูลในเครื่อง โดยเลขตัวที่น้อยกว่า (4GB) จะหมายถึงแรม ที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อการทำงานของเครื่อง และตัวเลขที่มากกว่า (64GB) จะหมายถึงพื้นที่เก็บข้อมูล หรือที่มักเรียกกันว่ารอม ซึ่งไว้ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในเครื่อง เช่น ระบบปฏิบัติการ แอป/เกมที่ติดตั้ง รูปภาพ วิดีโอ
แน่นอนว่าหน่วยความจำทั้งสองแบบนี้ ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งดี ด้านของแรมจะเปรียบเสมือนกระดาษทดเลข ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งรองรับการทำงานของหลายแอปพร้อมกันได้มากขึ้น สลับแอปไปมาได้สะดวก ส่วนพื้นที่เก็บข้อมูล (รอม) ถ้ายิ่งมีเยอะ ก็ยิ่งทำให้โหลดแอปได้มากขึ้น เก็บรูปได้มากขึ้นเป็นต้น
สำหรับการเขียนบอกปริมาณแรมและหน่วยความจำนั้น นอกจากจะเขียนเต็มแบบข้างต้นแล้ว บางทีเราอาจเจอการย่อเหลือเพียงแค่ 4+64 หรือ 4/64 เท่านั้น แต่หลักการอ่านก็ยังเหมือนเดิมครับ
เป็นจุดที่บอกขนาดหน้าจอเมื่อวัดตามแนวทะแยง ว่าสามารถวัดได้ 6.35 นิ้ว ส่วนคำว่า FHD+ นั้นคือระดับความละเอียดของหน้าจอครับ ย่อมาจาก Full HD+ ซึ่งก็คือความละเอียดที่เกินระดับ Full HD ขึ้นไปเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงระดับ QHD หรือ 4K อันเป็นระดับความละเอียดที่พบได้ค่อนข้างมากในมือถือยุคปัจจุบัน
โดยทั่วไปจะใช้บ่งบอกความจุของแบตเตอรี่ในเครื่อง ซึ่งพิจารณาแบบง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งตัวเลขนี้เยอะ ก็เท่ากับมือถือเครื่องนั้นมีแบตความจุสูง แต่การที่มือถือแบตความจุสูงนั้น ไม่ได้หมายถึงว่ามือถือเครื่องนั้นจะแบตอึด ใช้งานได้นานเสมอไปนะครับ ยังมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น อัตราการกินไฟของฮาร์ดแวร์ ลักษณะการใช้งาน และสภาพแวดล้อมระหว่างการใช้งานด้วย
บ่งบอกถึงความละเอียดของภาพถ่ายที่ได้จากกล้องหน้า ว่ามีความละเอียดสูงสุดที่ 16 ล้านพิกเซล (MP = Million Pixels) ยิ่งเลขเยอะ ก็จะทำให้ภาพดูมีรายละเอียดมากขึ้น ถ่ายแล้วซูมดูในภาพได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ตัวเลขความละเอียด ไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพทั้งหมดของกล้องในมือถือแต่ละรุ่นนะครับ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย จนทำให้บางครั้ง มือถือรุ่นที่มีกล้องความละเอียดน้อยกว่า แต่ยังให้ภาพที่คุณภาพดีกว่าได้เหมือนกัน
เป็นเรื่องปกติไปแล้วที่มือถือยุคนี้จะมาพร้อมกล้องหลังมากกว่า 1 ตัว พร้อมระบบ AI ที่เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งทำงานร่วมกับชิปในเครื่อง ช่วยประมวลผลภาพให้ออกมามีคุณภาพดีขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ขายก็มักจะนำเรื่องจำนวนกล้องขึ้นมาเป็นหนึ่งในจุดขายครับ แต่ถ้าจะเลือกซื้อมือถือซักเครื่อง คงต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันหน่อย ว่ากล้องแต่ละตัวนั้นเป็นเลนส์แบบไหนบ้าง แล้วมันเหมาะกับการใช้งานที่เราต้องการหรือเปล่า ซึ่งจะพูดถึงในหัวข้อถัดไป
ส่วนภาพในตัวอย่างที่สองด้านบนนี้ หลักการอ่านสเปคแบบย่อก็จะคล้ายกับในรูปแรกครับ แต่จะมีจุดที่ต้องดูเพิ่มเติมนิดนึง เช่น
ถ้าเจอการบอกจำนวนกล้องมากว้าง ๆ แบบนี้ อาจต้องเข้าไปดูสเปคแบบละเอียดกันนิดนึง ว่าที่ผู้ขายระบุว่า 4 กล้องนั้นหมายถึงกล้องอะไรบ้าง เพราะในกรณีอาจจะเป็นการโฆษณาโดยการรวมจำนวนของกล้องหลังและกล้องหน้ามาด้วยกัน ทำให้จำนวนกล้องมันดูเยอะ แต่สำหรับในภาพนี้ สเปคเครื่องนี้ กล้องหลังมันมา 4 ตัวครับ
ส่วนความละเอียดที่บอกมาว่า 48MP นั้น โดยมากแล้วจะเป็นการกล่าวถึงความละเอียดสูงสุดของกล้องหลักเพียงตัวเดียว ถ้าอยากดูความละเอียดของกล้องตัวอื่น ก็ต้องเข้าไปเช็คสเปคแบบเต็ม ๆ กันอีกที แต่ก็จะมีบางครั้งที่มีการระบุมาให้ในรูปแบบชุดตัวเลขเรียงกันมา เช่น “48+13+8+8” ซึ่งเลขตัวแรกจะหมายถึงความละเอียดกล้องหลัก (มักจะมีตัวเลขสูงสุดในชุด) ส่วนเลขตัวอื่น ๆ ก็ต้องไปดูสเปคอยู่ดี
เป็นการบอกถึงชิปเซ็ต (หรือชิปประมวลผล หรือ CPU) ของตัวเครื่องว่าใช้รุ่นไหน อย่างเครื่องนี้ก็จะเป็น Qualcomm Snapdragon 665 โดยคำว่า SD ก็มักจะใช้เป็นคำย่อของชื่อ Snapdragon ครับ สำหรับชิปจาก Qualcomm ในบางครั้งเราอาจจะเห็นการย่อยมาเหลือแค่ SD665 หรือ S665 ก็มี
ส่วนชิปของยี่ห้ออื่น นอกเหนือจากการลงชื่อเต็มแล้ว ก็จะมีการย่อ หรือใช้คำแทนที่แตกต่างกันไป เช่น
• Exynos ของ Samsung มักลงเป็นชื่อเต็ม หรือใช้ประโยคบอกจำนวนคอร์ประมวลผลแทน เช่น Octa core processor
• Kirin จากฝั่ง Huawei จะคล้ายกับ Samsung ครับ แต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นชื่อเต็มมากกว่า
• MediaTek เมื่อก่อนมักใช้การลงเป็นชื่อรหัสเช่น MT6735 หรือ MTK6735 แต่หลังจากเปิดตัวชิปซีรีส์ Helio ก็มักจะเขียนชื่อซีรีส์ + ชื่อรุ่นย่อย เช่น Helio P35 และล่าสุดก็เป็นซีรีส์ Dimensity เช่น Dimensity 1000
• A-series จาก Apple จะใช้การเขียนตรง ๆ เลย ไม่มีรหัสตัวเลขให้สับสน เช่น Apple A13 Bionic เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปีก็จะบวกขึ้นมาทีละ 1 ไล่มาตั้งแต่ยุค A4
เป็นประโยคที่ใช้บอกจำนวนคอร์ประมวลผลของ CPU ในมือถือแต่ละรุ่น โดยคำหน้านั้นจะดัดแปลงมาจากภาษากรีกกับละตินครับ ซึ่งที่พบกันได้บ่อย ๆ ก็เช่น
ทั้งนี้ จำนวนคอร์ที่มากกว่า ไม่ได้หมายถึงประสิทธิภาพจะสูงกว่าเครื่อง/ชิปที่มีจำนวนคอร์น้อยกว่าเสมอไปนะครับ เพราะมันขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของตัว CPU ด้วย ซึ่งต้องเจาะลึกกันลงไปอีกพอสมควรเลย
• บอกความเร็วสูงสุด ของกลุ่มคอร์ที่เร็วสุดภายในชิปเดียวกัน เช่น “Up to 2.0GHz”
ซึ่ง CPU มือถือในยุคนี้มักจะเป็นแบบนี้กันแทบทั้งหมดแล้ว คือในตัวชิปจะมีการแบ่งเป็นกลุ่มคอร์ความเร็วสูง กลุ่มคอร์ความเร็วต่ำ ที่จะแบ่งกันทำงานตามลักษณะของงาน ถ้างานง่าย ๆ ไม่ได้ใช้การคำนวณมากนัก ก็จะให้กลุ่มความเร็วต่ำทำงาน รวมถึงยังมีเทคโนโลยีในการปรับลดความเร็วให้เหมาะสมได้อีก เพื่อลดการกินไฟโดยรวมลง ทำให้การระบุความเร็ว CPU ในยุคนี้จะค่อนข้างซับซ้อนกว่าเมื่อก่อนครับ
แต่สำหรับการเลือกซื้อมือถือทั่ว ๆ ไปนั้น แทบไม่ต้องสนใจเรื่องตัวเลขความเร็วมากนักก็ได้ พิจารณาแค่รุ่น CPU ก็พอได้อยู่ เพราะส่วนใหญ่ตัวเลขก็มักไม่ค่อยหนีกันเท่าไหร่
ในหัวข้อนี้เราจะมาดูสเปคในแต่ละจุดกันครับ ว่าถ้าจะเลือกมือถือในปี 2020 นี้ เราควรเลือกสเปคแต่ละจุดอย่างไรบ้าง ขั้นต่ำควรจะเป็นยังไง ถึงจะสามารถใช้งานได้แบบราบรื่น
เป็นสิ่งที่ควรคิดเป็นอันดับแรกเลยครับ หลัก ๆ ก็คือเราจะเลือกฝั่ง Android หรือ iOS โดยปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาก็เช่น งบประมาณ แอปที่ต้องใช้ งานที่ต้องทำ เป็นต้น เพราะจะมีงานบางอย่างที่ต้องใช้แอปที่มีแต่ในฝั่ง iOS เท่านั้น ซึ่งถ้ามีข้อกำหนดมาในลักษณะนี้ ก็คงหนีไม่พ้นว่าต้องเลือก iPhone แหละครับ แต่ถ้าพิจารณาแล้วไม่ได้มีข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะมีตัวเลือกของฝั่ง Android เพิ่มขึ้นมาอีกเยอะเลย ซึ่งคำแนะนำในการเลือกมือถือของแต่ละ OS ก็คือ
• iOS: เน้นเลือก iPhone รุ่นใหม่ล่าสุดในแต่ละปี หรือถ้าต้องเลือกรุ่นเก่ากว่านิดนึง ก็ควรเป็นรุ่นที่มีอายุในตลาดมาไม่เกิน 2 ปี เพื่อการใช้งานที่ราบรื่นที่สุด
• Android: เลือกสเปคให้ตอบโจทย์แนวทางการใช้งานที่ต้องการ และสอดคล้องกับงบประมาณที่มี ซึ่งเราจะมาขยายรายละเอียดของสเปคแต่ละส่วนกันในลำดับถัดไปครับ
ส่วนแง่ของการอัพเดตนั้น ถ้าฝั่ง iOS ก็มั่นใจได้เลยว่าได้อัพเดตต่อเนื่องกันไม่น่าจะต่ำกว่า 4 ปี ด้านของฝั่ง Android ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเครื่องจากแบรนด์ใหญ่หน่อย น่าจะได้อัพเดต OS ไปอย่างน้อย 1-2 ปี และก็ได้รับการอัพเดตแพทช์ความปลอดภัยไปซัก 2-3 ปี แต่เอาจริง ๆ ก็ค่อนข้างเฉลี่ยยากครับ เพราะความหลากหลายของฝั่ง Android เอง
หลัก ๆ แล้วระดับของชิปประมวลผลจะค่อนข้างสัมพันธ์กับระดับราคามือถือแต่ละรุ่นอยู่แล้ว เช่น เครื่องรุ่นท็อปราคาสูงก็มักมาพร้อมชิประดับท็อป ส่วนเครื่องราคาเบา ๆ ก็จะเลือกใช้ชิปรุ่นระดับเริ่มต้น จะมีแค่มือถือบางรุ่นเท่านั้นเองที่ราคาไม่สูงมาก แต่มาพร้อมชิประดับท็อป ซึ่งก็ต้องมาดูรายละเอียดปลีกย่อยอื่นอีกที
สำหรับชิปในมือถือที่ทางเราขอแนะนำสำหรับการเลือกซื้อมือถือ Android ในปี 2020 จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อมือถือไปแล้วครับ กับการรองรับเครือข่าย 5G ซึ่งถ้าคิดว่าจะใช้มือถือนาน ๆ ไม่เปลี่ยนเครื่องบ่อย การลงทุนซื้อมือถือที่รองรับ 5G ไปเลยก็ดี เพราะตอนนี้ก็เริ่มมีหลายรุ่นที่ราคาเป็นมิตรมากขึ้น ส่วนถ้าคาดว่าน่าจะใช้ไม่นานมาก หรือปีหน้าก็เปลี่ยนเครื่องแล้ว การเลือกมือถือ 5G ในตอนนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นจุดที่จำเป็นมากนัก ทั้งเรื่องปัจจัยพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณที่ยังอยู่ในระหว่างการขยายโครงข่าย รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีที่ยังเปิดใช้งานกันอย่างไม่เต็มรูปแบบนักทั้ง 3 เครือข่ายหลัก เช่นการเปิดใช้งานคลื่นความถี่ที่ประมูลไป รวมถึงการเปิดใช้งานระบบ 5G SA ที่เป็นการวางโครงข่ายบนพื้นฐาน 5G ล้วน ๆ เป็นต้น
และในประเด็นเรื่องของเทคโนโลยีนั้น ถ้าคุณต้องการมือถือ 5G มาใช้งานแบบจัดเต็ม ก็ควรจะเลือกรุ่นที่รองรับเทคโนโลยี mmWave กับ Sub6 ด้วย เพื่อให้สามารถจับคลื่นได้ช่วงกว้างขึ้น ซึ่งก็จะเป็นเทคโนโลยีที่มาให้ใช้งานในอนาคตด้วยเช่นกัน
สรุปคือ ถ้าต้องการมือถือ 5G แบบจัดเต็มในตอนนี้ ก็ควรเลือกมือถือ 5G รุ่นท็อปสุดไว้ก่อน ส่วนถ้าต้องการซื้อมาลอง เน้นใช้งาน 5G ได้ในราคาคุ้ม ๆ ไม่เน้นความเร็วมาก (แต่ก็ยังเร็วกว่า 4G ทั่วไปอยู่ดี) การเลือกซื้อมือถือ 5G ช่วงราคาระดับหมื่นต้นถึงหมื่นกลางก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจครับ แต่ถ้ายังไม่สนใจเรื่อง 5G เท่าไหร่ อาจจะใช้เครื่องปัจจุบันไปก่อน เพื่อรอตลาดมือถือ 5G มันขยายตัวมากกว่านี้ซักนิดนึง
แรมก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญครับ เพราะจะช่วยให้การใช้งานโดยรวมดูไหลลื่นขึ้น สามารถสลับแอปไปมาได้ไม่ค่อยสะดุด ซึ่งถ้าในปี 2020 นี้ หลักการเลือกซื้อมือถือซักเครื่องก็ควรจะเลือกเครื่องที่มีแรมซัก 4 GB ขึ้นไป หรืออย่างน้อย ๆ เลยก็ 3 GB ไว้ก่อนครับ แต่ถ้างบประมาณจำกัดจริง ๆ มือถือแรม 2 GB ก็พอไหวนะ แต่แนะนำว่ายอมเพิ่มเงินอีกนิดหน่อย (หลักร้อยหรือพันนิด ๆ) เพื่ออัพเป็นรุ่นที่แรมซัก 3 GB ไปเลยดีกว่า
ความจุของตัวเครื่องที่แนะนำในปี 2020 นี้ ขั้นต่ำก็จะเป็น 32 GB แบบที่มีช่องใส่ MicroSD ด้วยครับ เพื่อให้สามารถเก็บรูป วิดีโอ หรือเก็บไฟล์ที่กินพื้นที่ได้เพียงพอ แต่ถ้าจะให้เหมาะจริง ๆ ก็ควรเลือกซื้อมือถือที่ให้ความจุมาซัก 64 GB จะอุ่นใจกว่า หรือถ้าสูงกว่านั้นได้ก็ดี เนื่องจากไฟล์รูป แอป เกมในปัจจุบันก็มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาก รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยงหนึ่งในปัญหาที่หลายท่านมักพบก็คือการที่ไม่สามารถอัพเดต OS ได้ เนื่องจากพื้นที่เก็บข้อมูลไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมานั่งลบแอป ลบเกมกันวุ่นวาย
• – เนื่องจากผู้ผลิตพยายามจับเอากล้องหน้ามาอยู่ในหน้าจอแสดงผลด้วย เราเลยได้เห็นหน้าจอแบบเจาะรูในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งก็เหมือนกับข้อแรกครับ คือลองไปดูเครื่องจริงก่อนว่าโอเคกับดีไซน์ของหน้าจอ การวางตำแหน่งรูกล้องหน้าหรือเปล่า รวมถึงขอบจอแบบโค้งด้วยครับ เพราะบางคนก็ไม่ชอบขอบโค้งเหมือนกัน
• – ถ้าจะเลือกซื้อมือถือสำหรับใช้งานทั่วไป มีงบปานกลาง แนะนำว่าควรเลือกมือถือที่ใช้จอความละเอียดอย่างต่ำ FHD+ พาเนลแบบ IPS หรือกลุ่ม OLED ก็ได้ครับ เพื่อภาพที่สวยและสบายตาหน่อย ส่วนถ้าต้องการมือถือมาใช้เล่นเกมแบบจริงจัง ก็ควรพิจารณาเรื่องรีเฟรชเรตหน้าจอด้วย โดยอาจจะเลือกอย่างต่ำซัก 90Hz ไว้ก่อนครับ
ส่วนถ้าจะเลือกซื้อมือถือระดับเริ่มต้นในราคาประหยัด ก็แนะนำว่าควรจะเลือกจอความละเอียดซักระดับ HD ขึ้นไป อาจจะเป็น HD+ ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนหน้าจอ ส่วนพาเนล ถ้าได้ IPS ก็จะดีหน่อยครับ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ก็อาจจะเจอกระจกหน้าจอที่สะท้อนแสงเยอะหน่อย อาจจะทำให้ใช้งานกลางแจ้งได้ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่
เกณฑ์ความจุของแบตเตอรี่ที่แนะนำสำหรับการเลือกซื้อมือถือในปี 2020 ก็ควรจะเป็นอย่างต่ำซัก 3000 mAh ซึ่งเป็นความจุแบตที่โดยมากแล้วมักจะสามารถใช้งานทั่วไปได้ตลอดวันครับ แต่ถ้าคิดว่าจะซื้อมาเล่นเกมหนัก ๆ ก็หาพวกซัก 4000 mAh ขึ้นไป ที่ตอนนี้เราได้เห็นอยู่ในมือถือราคาไม่แพงมากแล้ว และเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
ส่วนถ้าต้องการเล่นเกมแบบยาว ๆ แต่ไม่ได้ต้องการเน้นให้ภาพสวย เฟรมเรตลื่นสุด ๆ อาจจะพิจารณามือถือสเปคระดับกลางที่ใช้ชิปใหม่หน่อย ให้แบตมาเยอะ ๆ ครับ จะได้เล่นเกมได้นานนิดนึง
อีกจุดที่สำคัญก็คือฟังก์ชันการชาร์จเร็วครับ ซึ่งหลัก ๆ ก็จะขึ้นกับชิปที่ใช้ และบริษัทผู้ผลิต อย่าง Huawei กับ OPPO ก็จะใช้เทคโนโลยีการชาร์จเร็วของตนเอง ส่วนถ้าอยากได้มือถือที่รองรับการชาร์จเร็วที่มีอุปกรณ์ให้เลือกหลากหลายหน่อย สำหรับยุคนี้คงต้องมองหาเครื่องที่รองรับการชาร์จแบบ USB-PD (Power Delivery) เพราะเป็นมาตรฐานกลางที่หลายแบรนด์รองรับ มีอะแดปเตอร์ สายชาร์จและก็ powerbank ที่หาซื้อใช้งานได้ง่าย ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ของแบรนด์อื่นได้สะดวก
ส่วนกำลังไฟฟ้าในการชาร์จเร็วที่รองรับ ถ้าในปัจจุบันก็มักจะเริ่มกันที่ 10W 12W 18W ขึ้นไป ไปจนถึงระดับสูงสุดหลักร้อยวัตต์เลยทีเดียว
ดังนั้น ถ้าคุณต้องการเลือกซื้อมือถือในยุคนี้ นอกจากการเลือกเครื่องที่มีแบตความจุเยอะแล้ว ฟังก์ชันการชาร์จเร็วก็ควรเป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับการพิจารณาด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ชาร์จไฟเข้าได้เร็วทันใจครับ
ด้วยความที่มือถือยุคนี้มักมาพร้อมกล้องหลายเลนส์ในเครื่องเดียว โดยเฉพาะกล้องหลัง ก็ต้องพิจารณากันก่อนครับว่าอยากจะใช้มือถือถ่ายรูปในแนวไหนบ้าง เช่นถ้าต้องการถ่ายคนด้วยโหมด portrait บ่อย ๆ ก็อาจจะต้องเลือกซื้อมือถือที่มาพร้อมเลนส์เทเล หรือมีเลนส์ที่ช่วยในการถ่าย portrait ได้มีมิติมากยิ่งขึ้น เช่น เลนส์ portrait เลนส์ depth เป็นต้น หรือถ้าต้องการเอามือถือมาถ่ายรูปวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เช่น ถ่ายพระเครื่อง ก็คงต้องเลือกรุ่นที่มีเลนส์มาโครในตัว ซึ่งก็มักจะอยู่ในมือถือช่วงราคาเกือบหมื่นไปจนถึงหมื่นกลาง ๆ ในหลายรุ่นอยู่เหมือนกัน
อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าพิจารณา โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเน้นคุณภาพเรื่องกล้องแบบสุด ๆ นอกเหนือจากเลนส์ที่ให้มาแล้ว ก็เป็นเรื่องเซ็นเซอร์รับภาพครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นรุ่นที่ผู้ผลิตชูกล้องเป็นจุดขาย ก็มักจะมีการระบุรุ่นของเซ็นเซอร์รับภาพมาให้ครบถ้วน โดยเซ็นเซอร์ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงมายาวนานหน่อยก็จะเป็นตระกูล IMX จาก Sony ครับ ที่ท็อปหน่อยก็จะเป็นกลุ่ม IMX686, IMX689, IMX700 ส่วน ISOCELL ของ Samsung ก็โอเคอยู่เหมือนกัน
จะมีฝั่ง Huawei ที่ตอนนี้ต้องบอกว่าอัดเทคโนโลยีกล้องมาแบบจัดเต็มมาก ๆ ทั้งการยกระดับเซ็นเซอร์รับภาพไปใช้เป็นแบบ RYYB เพื่อการรับแสงที่ดีขึ้น รวมถึงพวกซอฟต์แวร์ช่วยประมวลภาพ ซึ่งคงต้องไปดูรายละเอียดของแต่ละรุ่น และรีวิวแบบเจาะลึกกันอีกที
ปัจจัยเสริมต่อมาเกี่ยวกับเรื่องกล้องก็คือระบบกันสั่นแบบ OIS ซึ่งจะมีประโยชน์มาก ๆ สำหรับการถ่ายวิดีโอ โดยในมือถือรุ่นราคาสูงหน่อยก็มักจะใส่ OIS มาให้ทั้งในเลนส์ไวด์ปกติและเลนส์เทเลด้วย เพื่อการถ่ายภาพซูมที่ง่ายขึ้น ลดการสั่นไหวได้มากขึ้น
ส่วนเรื่องของความสามารถในการซูม ถ้าเป็นรุ่นมีราคาหน่อยก็จะมาพร้อมการซูมแบบออปติคอลจากการใช้เลนส์เสริม ซึ่งให้คุณภาพ ความคมชัดในแต่ละรายละเอียดที่ดีกว่าการซูมแบบดิจิตอลด้วย ดังนั้น ถ้าคุณต้องการมือถือไปถ่ายซูมไกล ๆ เช่น ถ่ายในคอนเสิร์ต ก็คงต้องมองหามือถือที่มีเลนส์เทเลมาให้ รองรับการซูมออปติคอลจากเลนส์ได้ไกลซัก 5x ขึ้นไป
ปิดท้ายด้วยเรื่องความละเอียดของภาพ อันนี้เป็นปัจจัยที่อาจจะจำเป็นน้อยลงในยุคปัจจุบัน ด้วยคุณภาพของกล้องที่พัฒนาขึ้นในหลาย ๆ จุดจนมาชดเชยเรื่องความละเอียดไปได้บ้าง ซึ่งถ้าสำหรับการใช้งานทั่วไป อัพลงโซเชียล มือถือกล้องซัก 12MP ก็ใช้งานได้สบาย ๆ แล้ว แต่ถ้าคุณต้องการมือถือที่ถ่ายภาพเพื่อนำมาใช้ทำงานต่อ ก็แนะนำว่าควรเลือกมือถือรุ่นสูง ๆ หน่อย ความละเอียดกล้องสูงซักนิดนึง เพื่อจะได้มีปริมาณพิกเซลมากพอสำหรับการนำภาพมาซูม มา crop ต่อในภายหลัง
เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ WiFi ที่ได้รับการเสริมประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่า WiFi 802.11ac ที่หลาย ๆ ท่านคงจะคุ้นเคยกันแล้ว ทั้งเรื่องความเร็ว ความเสถียร ความสามารถในการรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ เป็นต้น ทำให้ WiFi 6 เป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการใช้มือถือที่ต่อ WiFi ได้เสถียร ปิงน้อย เช่นสำหรับการเล่นเกม การดูหนังผ่านการสตรีมมิ่งภายในบริเวณที่มีการใช้อุปกรณ์ WiFi พร้อมกันหลาย ๆ เครื่อง แต่ทั้งนี้ อุปกรณ์เครือข่ายอย่าง router และ access point ก็ต้องรองรับการปล่อยสัญญาณแบบ WiFi 6 ด้วยเช่นกันนะครับ (ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายรุ่นที่ราคาจับต้องได้แล้ว)
ส่วนในฝั่งมือถือนั้น ผู้ผลิตหลายรายก็เริ่มจับ WiFi 6 มาใส่ในมือถือรุ่นใหม่ของตนเองแล้ว โดยหลัก ๆ ก็จะอยู่ในมือถือรุ่นพรีเมียมนิดนึง เช่น รุ่นท็อป รุ่นราคา 20,000 บาทขึ้นไป แต่ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นมือถือราคาหมื่นนิด ๆ ที่มี WiFi 6 มาบ้างในบางรุ่นเหมือนกันครับ ดังนั้นถ้างบถึงและเป็นไปได้ ก็ควรเลือกซื้อมือถือที่มี WiFi 6 มาด้วยเลยก็จะดีครับ จะได้ไม่ต้องเสียเที่ยว แต่ถ้างบไม่ถึง หรือรุ่นที่อยากได้มันไม่มี WiFi 6 ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะ WiFi 802.11ac หรือ 802.11n ก็ยังพอไหวอยู่
มือถือบางรุ่นก็จะมีฟังก์ชันเสริมที่ตอบโจทย์การทำงานเฉพาะอย่างมาด้วย เช่น มีปากกาสไตลัสมาในเครื่อง เพื่อการจดบันทึก วาดรูปได้แบบสะดวก ๆ บางรุ่นมาพร้อมระบบกันสั่นในแบบ gimbal ในตัว เป็นต้น ซึ่งแต่ละฟีเจอร์ก็จะมีจุดขายแตกต่างกันไปครับ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานต้องการแบบไหน
• บอดี้พลาสติก เพื่อความทนทานและน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา เสียบชาร์จแบตได้ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟดูด
• พยายามเลือกซื้อมือถือที่มีแสงสะท้อนจากกระจกจอที่ต่ำ เพื่อถนอมสายตา
• CPU รุ่นไม่ต่ำจนเกินไป เพราะบางครั้งอาจต้องใช้เล่นเกม หรือใช้แอปที่เกี่ยวกับการศึกษา
• มีระบบช่วยจำกัดการใช้งานโดยผู้ปกครอง เช่น Kid mode หรือมีฟังก์ชันพวก Parental control เพื่อช่วยกำหนดระยะเวลาการใช้มือถือ ป้องกันการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก เป็นต้น
• สามารถปรับขนาดตัวอักษรได้ ทางที่ดีควรไปลองเล่นเครื่องจริงก่อน ว่าสามารถปรับได้ใหญ่ขนาดไหน ตรงกับความต้องการหรือไม่
• เลือก OS โดยพิจารณาจากประเภทของงาน และแอปที่ใช้งาน เพราะบางแอปก็มีเฉพาะบนบาง OS เท่านั้น
• CPU และ RAM ค่อนข้างสูงหน่อย เพราะอาจต้องรองรับการทำงานหลายแอปพร้อมกัน และการทำงานที่เร็วทันใจ
• พื้นที่เก็บข้อมูล ตามลักษณะงานที่ทำ เช่นถ้าหากต้องทำงานด้านวิดีโอ ก็ต้องเลือกซื้อมือถือที่ความจุเยอะหน่อย 256 GB ขึ้นไปได้ก็ดี ส่วนถ้าเป็นงานที่ทำบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ก็เลือกความจุลดลงมานิดนึงได้ (แต่แน่นอนว่ายิ่งเยอะยิ่งสะดวก)
• มี Desktop mode ให้ใช้งานก็จะดี ทำให้สามารถนำมือถือไปต่อกับสาย เพื่อส่งภาพขึ้นจอ ต่อคีย์บอร์ดเมาส์ใช้งานในลักษณะคอมพิวเตอร์ได้เลย ซึ่งเหมาะกับงานพวกไฟล์เอกสาร ทำงานผ่านเว็บเบราเซอร์
• จอรีเฟรชเรตสูง (ไม่น้อยกว่า 90Hz) และถ้าให้ดีก็ควรจะเป็นจอที่มีความไวต่อการสัมผัส (touch sensitivity) สูงด้วย
• แบตเตอรี่อึด และรองรับการชาร์จเร็ว ซึ่งมือถือสำหรับเล่นเกมรุ่นใหม่ ๆ มักจะออกแบบให้ตำแหน่งของพอร์ตนั้นเลี่ยงมือด้วย เพื่อให้สามารถจับเครื่องเล่นเกมได้ถนัดขณะเสียบสายชาร์จอยู่
• การออกแบบกล้องหน้า ว่าโอเคกับรูปแบบหรือเปล่า เช่น การเจาะรูกล้องหน้า หรือถ้าอยากได้ภาพเต็ม ๆ ก็คงต้องเป็นมือถือรุ่นที่ใช้การซ่อนกล้องหน้าไปเลย
• เทคโนโลยีการระบายความร้อน โดยในมือถือเล่นเกมรุ่นใหม่ ๆ จะใช้ของเหลวมาช่วยระบายความร้อนด้วย รวมถึงบางรุ่นยังมีอุปกรณ์เสริมเป็นชุดพัดลมระบายความร้อนมาให้ใช้ด้วย
• ลำโพงสเตอริโอ รองรับระบบเสียงเพื่อช่วยเพิ่มความสมจริง เช่น Dolby Atmos ซึ่งบางรุ่นจะใช้ได้กับทั้งลำโพงและหูฟัง
• มีช่อง 3.5 มม. (ได้ก็จะดี เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน)
• CPU ระดับท็อปหน่อย RAM เยอะ เพื่อจะได้ประมวลผลงาน รับงาน สลับแอปได้เร็ว โดย CPU อาจจะเป็นรุ่นท็อปของปีก่อนหน้าเช่นพวก Snapdragon 855 / 855+ ก็ได้
• จับ GPS และรับสัญญาณ 5G/4G/3G ได้ดี ซึ่งคงต้องอาศัยการดูรีวิวของผู้ที่ใช้งานจริงครับ ว่าทำได้ดีขนาดไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกมือถือราคาสูงหน่อย มักจะทำได้ค่อนข้างดี
• มี GMS เพื่อให้รองรับแอปในการรับงานได้หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มแอปที่อาศัยแผนที่ เพราะหลาย ๆ แอปยังใช้เซอร์วิสจาก Google อยู่
• แบตเตอรี่อึด รองรับการชาร์จเร็ว เพราะทั้งรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ ๆ ก็มีช่องจุดบุหรี่สำหรับเสียบอะแดปเตอร์ชาร์จมาให้ เพื่อจะได้ใช้งานได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องกังวลหรือแบตหมด
• CPU และ RAM อยู่ในระดับที่ใช้งานได้ดี ตอบสนองได้ทันใจ
• RAM ควรจะเริ่มต้นขั้นต่ำที่ 3 GB (ถ้าไม่ไหว 2 GB ก็ใช้งานได้)
ซึ่งคุณสามารถเข้าไปหามือถือซักเครื่องที่ตรงใจจากหน้านี้ได้เลยครับ
Write a Comment